การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นทักษะที่สำคัญในยุคดิจิทัลปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแอปพลิเคชันมือถือ เว็บไซต์ หรือซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่างๆ ล้วนต้องอาศัยการเขียนคำสั่งเพื่อควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปแล้ว การเขียนโปรแกรมจะใช้ “ภาษาคอมพิวเตอร์” ซึ่งมีหลายประเภท เช่น C, Java, Python เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม วิธีการเขียนโปรแกรมไม่ได้จำกัดอยู่แค่การพิมพ์คำสั่งเท่านั้น แต่ยังมีรูปแบบอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น การเขียนโปรแกรมแบบ Text-based ที่เราคุ้นเคยกันดี และ Block-based Programming ซึ่งเป็นการเขียนโปรแกรมด้วยการลากวางบล็อกคำสั่งต่างๆ เข้าด้วยกัน
ในบทความนี้ เราจะทำความรู้จักกับหลักการและแนวคิดของ Text-based และ Block-based Programming เพื่อให้เห็นภาพรวมของการเขียนโปรแกรมในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การพิมพ์คำสั่งโดยตรง ไปจนถึงการควบคุมการทำงานด้วยบล็อกคำสั่งแบบกราฟฟิก พร้อมทั้งข้อดีข้อเสียและกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้งาน เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้และพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรมต่อไป
ติดตามเนื้อหาที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ SPARK EDUCATION
Text-based programming
Text-based programming คือ การเขียนโปรแกรมด้วยตัวอักษร (text) ผ่านการพิมพ์คำสั่ง และคำสั่งย่อยลงในบรรทัดต่างๆ ตามไวยากรณ์ของภาษาโปรแกรมมิ่งที่ใช้ เช่น Python, Java, C++ เป็นต้น การเขียนโปรแกรมแบบนี้จะต้องมีความรู้ในไวยากรณ์ของภาษาที่ใช้ และสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมอยู่แล้ว
องค์ประกอบหลักของ Text-based programming
- ภาษาโปรแกรม: ภาษาโปรแกรมเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ใช้เขียนโปรแกรม ภาษาโปรแกรมมีหลากหลายประเภท แต่ละภาษาจะมีไวยากรณ์และโครงสร้างที่แตกต่างกัน ภาษาโปรแกรม Text-based ยอดนิยม ได้แก่ Python, Java, C++ และ JavaScript
- โค้ด: โค้ดคือชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรม โค้ดจะบอกคอมพิวเตอร์ว่าต้องทำงานอะไร
- โครงสร้าง: โปรแกรม Text-based ประกอบไปด้วยโครงสร้างต่างๆ เช่น ตัวแปร ฟังก์ชั่น วนซ้ำ เงื่อนไข
- เครื่องมือ: เครื่องมือช่วยเขียนโปรแกรม Text-based มีหลายประเภท เช่น IDE (Integrated Development Environment) Text editor compiler และ interpreter
ตัวอย่าง Text Base programming
ข้อดีของ Text-based programming
- ความยืดหยุ่น: Text-based programming มีความยืดหยุ่นสูง สามารถเขียนโปรแกรมได้หลากหลาย
- ประสิทธิภาพ: โปรแกรมที่เขียนด้วย Text-based programming มักมีประสิทธิภาพมากกว่า Block-based programming
- ภาษาโปรแกรม: มีภาษาโปรแกรม Text-based ให้เลือกมากมาย เหมาะกับงาน specific
- พัฒนาทักษะ: การเรียนรู้ Text-based programming ช่วยให้พัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะ การแก้ปัญหา และความอดทน
ข้อจำกัดของ Text-based programming
- ความซับซ้อน: Text-based programming เรียนรู้ยากกว่า Block-based programming
- เกิดความผิดพลาดได้ง่าย: โปรแกรมที่เขียนด้วย Text-based programming เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย
- เหมาะกับผู้มีพื้นฐานความรู้: Text-based programming ไม่เหมาะกับเด็กเล็ก
Block-based programming
Block-based programming คือ การเขียนโปรแกรมด้วยบล๊อก (block) หรือกล่องคำสั่ง โดยการลากและวางบล็อกคำสั่งต่างๆ ลงในพื้นที่การทำงาน ซึ่งบล็อกคำสั่งเหล่านี้จะมีความหมายและการทำงานที่แตกต่างกัน การเขียนโปรแกรมแบบนี้จะเน้นที่การเรียนรู้ความหมายและการทำงานของบล็อกคำสั่ง โดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ไวยากรณ์ของภาษาโปรแกรมมิ่ง ซึ่งเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นในการเขียนโปรแกรม
องค์ประกอบหลักของ Block-based programming
- บล็อก: บล็อกคือส่วนประกอบหลักของ Block-based programming แต่ละบล็อกจะมีหน้าที่เฉพาะ
- พื้นที่ทำงาน: พื้นที่ทำงานคือบริเวณที่ใช้ต่อบล็อกเข้าด้วยกัน
- ปุ่มควบคุม: ปุ่มควบคุมใช้สำหรับรันโปรแกรม หยุดโปรแกรม และแก้ไขโปรแกรม
ตัวอย่าง Block-based programming
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Block programming: Scratch เรียนรู้โค้ดดิ้งอย่างง่าย สร้างสรรค์ได้ไม่รู้จบ
ข้อดีของ Block-based programming
- เรียนรู้ง่าย: Block-based programming เรียนรู้ง่ายกว่า Text-based programming
- เข้าใจง่าย: Block-based programming เข้าใจง่าย เหมาะกับเด็กเล็ก
- ความผิดพลาดน้อย: Block-based programming เกิดข้อผิดพลาดน้อยกว่า Text-based programming
- พัฒนาทักษะ: การเรียนรู้ Block-based programming ช่วยให้พัฒนาทักษะการคิดเชิงตรรกะ การแก้ปัญหา และความคิดสร้างสรรค์
ข้อเสียของ Block-based programming
- ความยืดหยุ่นน้อย: Block-based programming มีความยืดหยุ่นน้อยกว่า Text-based programming
- ประสิทธิภาพของโปรแกรม: โปรแกรมที่เขียนด้วย Block-based programming มักมีประสิทธิภาพน้อยกว่า Text-based programming
- ตัวเลือกน้อย: ภาษาโปรแกรม Block-based ให้เลือกน้อย
ทั้ง 2 วิธีการมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการเขียนโปรแกรม ผู้ใช้งาน และทรัพยากรที่มีอยู่ ดังนั้น การเลือกใช้วิธีการใดจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้
วิธีการใดที่เหมาะสมกับผู้เริ่มต้นในการเขียนโปรแกรม?
สำหรับผู้เริ่มต้นการเขียนโปรแกรม การเลือกวิธีการที่เหมาะสมนั้นสำคัญมาก มีสองวิธีหลักๆ ที่ใช้กันทั่วไป คือ Text-based programming และ Block-based programming แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป
Block-based programming เหมาะสำหรับเด็กเล็ก ผู้เริ่มต้น หรือผู้ที่ต้องการเรียนรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรม วิธีนี้ใช้บล็อกที่มีสีสันต่างๆ แทนโค้ด บล็อกแต่ละบล็อกมีหน้าที่เฉพาะ ผู้ใช้เพียงต่อบล็อกเข้าด้วยกันเพื่อสร้างโปรแกรม Block-based programming เรียนรู้ง่าย เข้าใจง่าย เกิดข้อผิดพลาดน้อย และสนุกสนาน ตัวอย่างภาษา Block-based programming ยอดนิยม ได้แก่ Scratch, Blockly และ Lego Mindstorms
เมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยนจาก block-based programming มาเป็น text-based programming?
การตัดสินใจเปลี่ยนจาก block-based programming มาเป็น text-based programming นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ผู้ใช้ควรพิจารณาปัจจัยเหล่านี้ก่อนตัดสินใจ
ปัจจัยที่ต้องพิจารณา
- ทักษะและประสบการณ์: ผู้ใช้มีความคุ้นเคยกับ block-based programming อยู่แล้วหรือไม่ เข้าใจพื้นฐานการเขียนโปรแกรม เช่น โครงสร้างการควบคุมตัวแปร ฟังก์ชั่น ฯลฯ หรือไม่ ต้องการเรียนรู้วิธีเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนหรือไม่
- เป้าหมาย: ต้องการเขียนโปรแกรมที่ทำงานได้เร็วขึ้น ต้องการเขียนโปรแกรมที่ใช้งานทรัพยากรระบบน้อยลง ต้องการเขียนโปรแกรมที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการต่างๆ ต้องการเรียนรู้ภาษาโปรแกรมที่ใช้ในอุตสาหกรรมจริง
- ประเภทของโปรแกรม: ต้องการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อน เช่น เกม 3D แอปพลิเคชั่น เว็บไซต์ ต้องการเขียนโปรแกรมที่ทำงานร่วมกับฮาร์ดแวร์
- แรงจูงใจ: รู้สึกเบื่อกับ block-based programming ต้องการพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรม ต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่
สัญญาณที่บ่งบอกว่าควรเปลี่ยนมาใช้ text-based programming:
- เขียนโปรแกรมด้วย block-based programming จนคล่องแคล่ว
- ต้องการเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนเกินความสามารถของ block-based programming
- ต้องการเรียนรู้ภาษาโปรแกรมที่ใช้ในอุตสาหกรรมจริง
- ต้องการพัฒนาทักษะการเขียนโปรแกรม
สรุป
text-based programming และ block-based programming เป็นวิธีการเขียนโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพทั้งคู่ แต่มีมีจุดเด่นและข้อจำกัดแตกต่างกัน ดังนั้น การเลือกใช้วิธีการใดขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น วัตถุประสงค์ ผู้ใช้ และทรัพยากร ว่าวิธีการใดจะเหมาะสมกับความต้องการมากที่สุด
ติดตามเนื้อหาที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่
- เว็บไซต์: SPARK EDUCATION
- Facebook: https://www.facebook.com/sparkeducation.co
อ้างอิง
- ภาพ Text-based programming https://blog.technokids.com/programming/scratch/5-new-features-in-scratch-3-0/
- ภาพ Block-based programming https://www.codejig.com/en/block-based-coding/