Programming Language ภาษาโปรแกรม-รากฐานแห่งโลกดิจิทัล

ภาษาโปรแกรมกลายเป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ช่วยให้มนุษย์สามารถสื่อสารกับเครื่องจักรและสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ บนโลกดิจิทัลได้ เป็นภาษาที่ใช้สั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ
Avatar photo how | April 4, 2024
Programming Language ภาษาโปรแกรม-รากฐานแห่งโลกดิจิทัล

ภาษาโปรแกรม เป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่ช่วยให้เราสามารถสื่อสารกับเครื่องจักร และสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ บนโลกดิจิทัลได้ เป็นภาษาที่ใช้สั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ แล้วภาษาโปรแกรม(Programming Language) ที่ว่านี้คืออะไร? บทความนี้จะพาทุกท่านไปรู้จักกับภาษาโปรแกรม ประเภท รูปแบบ และตัวอย่างการใช้งาน เพื่อเป็นแนวทางในการเริ่มต้นเรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานด้วยตัวเอง

ติดตามเนื้อหาที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ SPARK EDUCATION


ภาษาโปรแกรมคืออะไร?

ภาษาโปรแกรม (Programming Language) คือ ชุดคำสั่งและกฎเกณฑ์ที่ใช้สื่อสารกับเครื่องจักร โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ มนุษย์ใช้ภาษาโปรแกรมเพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ เช่น คำนวณเลข ทำงานกับข้อมูล แสดงผลบนหน้าจอ ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ หรือสรุปได้ว่าคือภาษาที่โปรแกรมเมอร์ใช้สร้างโปรแกรมต่างๆ ที่เราใช้งานในชีวิตประจำวันของเรานั่นเอง

ประโยชน์ของภาษาโปรแกรม

  • ช่วยให้สามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ และควบคุมการทำงานของเครื่องจักรได้
  • ช่วยในการพัฒนาซอฟต์แวร์ และแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน ตั้งแต่โปรแกรมคำนวณง่ายๆ เกมออนไลน์ ไปจนถึงถึงซุปเปอร์ทางการเงินแอปฯที่ซับซ้อน
  • ช่วยในการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ช่วยในการควบคุมอุปกรณ์อัจฉริยะและระบบอัตโนมัติต่างๆ
  • ช่วยในการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของมนุษย์

ความสำคัญของภาษาโปรแกรม

คอมพิวเตอร์มีศักยภาพในการประมวลผลข้อมูลดิจิทัลได้อย่างรวดเร็ว ภาษาโปรแกรม จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถสร้างสรรค์โลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ ระบบอัตโนมัติ หรือการควบคุมอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ ภาษาโปรแกรมจึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของมนุษย์ในโลกดิจิทัลได้อย่างมากมาย หากไม่มีภาษาโปรแกรมเราคงไม่มีโปรแกรมอำนวยความสะดวกให้ใช้งานอย่างทุกวันนี้


ประเภทของภาษาโปรแกรม

ภาษาโปรแกรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้

1. ภาษาเครื่อง (Machine Language)

ภาษาเครื่อง(Machine Language) เป็นภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับต่ำที่สุด ซึ่งคอมพิวเตอร์เข้าใจได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านตัวแปลภาษาเพราะเขียนคำสั่งและแทนข้อมูลด้วยเลขฐานสอง (Binary Code) ทั้งหมด เป็นการเขียนคำสั่งด้วยเลข 0 หรือ 1 เรียงลำดับกันตามชุดคำสั่งและข้อมูล ภาษาเครื่องมีความซับซ้อน อ่านและเขียนยาก เหมาะกับผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์

ตัวอย่างภาษาเครื่อง

ปัจจุบันมีการใช้งานภาษาเครื่องอยู่ในวงจำกัดเฉพาะผู้พัฒนาโปรแกรมเฉพาะทางเท่านั้นเนื่องจากมีข้อเสียที่ไม่เหมาะสำหรับบุคลลทั่วไปที่ใช้งานจากคุณลักษณะที่ อ่านและเขียนยาก, ยากต่อการค้นหาจุดผิดพลาดและแก้ไข และยากต่อการพัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่

2. ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)

ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) เป็นภาษาโปรแกรมที่มีความยากอยู่ระหว่าง ภาษาเครื่อง (Machine Language) และภาษาระดับสูง (High-level Language) ลักษณะเด่นของภาษาแอสเซมบลีคือ ต้องผ่านโปรแกรมแปลภาษา (Assembler) แปลงเป็นภาษาเครื่องก่อนใช้งานให้เป็นรหัสย่อ (Mnemonic) แทนรหัสเลขฐานสองในภาษาเครื่อง ช่วยให้อ่านและเขียนง่ายขึ้น แต่ยังมีความซับซ้อน เหมาะกับผู้ที่มีพื้นฐาน

ตัวอย่างภาษาแอสเซมบลี

  • MOV AX, 10 ; เก็บค่า 10 ลงใน AX
  • ADD AX, 5 ; เพิ่มค่า 5 ลงใน AX
  • MOV BX, AX ; เก็บค่าใน AX ลงใน BX
  • ตัวอย่างข้างต้นเป็นภาษาแอสเซมบลีที่ใช้สั่งให้คอมพิวเตอร์คำนวณ 10 + 5 และเก็บผลลัพธ์ไว้ใน BX

แม้จะยังมีการใช้งานภาษาภาษาแอสเซมบลีอยู่ แต่ก็จำกัดเฉพาะผู้พัฒนาโปรแกรมเฉพาะทางเท่านั้นเนื่องจากมีข้อจำกัดเช่นเดียวกับภาษาเครื่อง

3. ภาษาระดับสูง (High-level Languages)

ภาษาระดับสูง (High-level Languages) เป็นภาษาโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานง่าย เข้าใจง่าย เพราะคำสั่งที่ใช้งานมีความใกล้เคียงกับภาษามนุษย์มากที่สุด ภาษาระดับสูงมีโครงสร้างคล้ายคลึงกับภาษาธรรมชาติ ช่วยให้เขียนโปรแกรมได้รวดเร็วและสะดวก เหมาะกับทั้งผู้เริ่มต้นและผู้เชี่ยวชาญ ตัวอย่างภาษาระดับสูง

  • ภาษาซี (C)
  • ภาษาซีพลัสพลัส (C++)
  • ภาษาจาวา (Java)
  • ภาษาไพธอน (Python)
  • ภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript)

ลักษณะของภาษาระดับสูง

  • มีโครงสร้างคล้ายคลึงกับภาษาธรรมชาติ ใช้คำศัพท์และไวยากรณ์ที่เข้าใจง่าย ผู้ใช้งานสามารถทำความเข้าใจคำสั่งได้ได้ง่าย รวมถึงการเรียบเรียงคำสั่ง
  • เขียนโปรแกรมได้รวดเร็ว พัฒนาโปรแกรมขนาดใหญ่ได้ง่าย
  • มีไลบรารี (Library) และฟังก์ชั่น (Function) สำเร็จรูปมากมาย ให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้ได้สะดวก โดยไม่ต้องเขียนคำสั่งทำงานพื้นฐานด้วยตัวเองทั้งหมด

ตัวอย่างภาษาระดับสูง: ภาษาไพธอน (Python)

จากตัวอย่างจะเห็นว่าคำสั่งของภาษา python ว่าเป้นคำสั่งซึ่งสามารถอ่านและเข้าใจการทำงานได้เช่น คำสั่ง print ใช้สั่งการให้คอมพิวเตอร์แสดงข้อมูลที่อยู่วงเล็บ หรือคำสั่ง เงื่อนไขตรวจสอบว่า x มีค่ามากกว่า 3 หรือไม่? เป็นต้น

ตัวอย่างการใช้งานภาษาระดับสูง

  • ภาษาซี (C): ภาษาที่ใช้ทั่วไป เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมระบบ
  • ภาษาซีพลัสพลัส (C++): พัฒนาต่อยอดจากภาษาซี เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมที่ต้องการความเร็ว
  • ภาษาจาวา (Java): ภาษายอดนิยม เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมบนเว็บและแอปพลิเคชั่น
  • ภาษาไพธอน (Python): ภาษาที่ใช้งานง่าย เหมาะสำหรับการเขียนโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล
  • ภาษาจาวาสคริปต์ (JavaScript): ภาษาที่ใช้สำหรับการเขียนโปรแกรมบนเว็บ

การเลือกภาษาโปรแกรม

การเลือกภาษาโปรแกรมที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับ

  1. วัตถุประสงค์การใช้งาน : วางเป้าหมายว่าต้องการสร้างโปรแกรมเพื่อการใช้งานใด และศึกษาข้อมูลจุดเด่น จุดด้อยของแต่ละภาษาว่ามีคุณลักษณะเหมาะสมต่อการพัฒนาโปรแกรมตามวัตถุประสงค์หรือไม่
  2. ทักษะของตนเอง : พิจารณาทักษะความสามารถของตนเอง ว่าเพียงพอต่อการสร้างโปรแกรมที่ต้องการหรือไม่ และต่อยอดเพิ่มเติมทักษะส่วนที่ยังขาดหายไป
  3. ทรัพยากร และความพร้อม : การสร้างโปรแกรมบางอย่างต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าอุปกรณ์ และความรู้ของผู้พัฒนา เช่น หากต้องการสร้างเว็บไซต์หรือเกมออนไลน์จำเป็นจะต้องซื้อพื้นที่ในโลกออนไลน์ของผู้ให้บริการจึงจะสามารทำได้ ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายทรัพยากรที่ต้องใช้ในการพัฒนา เป็นต้น

คำศัพท์เพิ่มเติม

  • โปรแกรมเมอร์ (Programmer): ผู้เขียนโปรแกรม
  • โปรแกรม (Program): ชุดคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรม
  • ซอฟต์แวร์ (Software): โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • อัลกอริทึม (Algorithm): ขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหา
  • โค้ด (Code): คำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อบอกคอมพิวเตอร์ว่าต้องทำงานอะไร เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกับคอมพิวเตอร์
  • ตัวแปร (Variable): พื้นที่เก็บข้อมูลในโปรแกรม สามารถสร้าง เรียกใช้งาน และเปลี่ยนแปลค่าข้อมูลได้
  • ฟังก์ชั่น (Function): กลุ่มของโค้ดที่ทำงานร่วมกันเพื่อทำหน้าที่หนึ่งๆ ตามต้องการ สามารถสร้าง เรียกใช้งานได้

สรุป

ภาษาโปรแกรม ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถสร้างสรรค์โลกดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาซอฟต์แวร์และแอปพลิเคชัน การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล หรือการควบคุมอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ ภาษาโปรแกรมจึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของมนุษย์ในโลกดิจิทัลได้อย่างมากมาย

ติดตามเนื้อหาที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่

อ้างอิง